Muscle Theory part 1: ทฤษฎีบทของการเพิ่มกล้ามเนื้อ

2 Aug 2017 13:44

1. กายวิภาคศาสตร์ของกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อนั้นมีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อโครงร่าง และกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อนั้นเป็นการรวมตัวของเซลล์กล้ามเนื้อ ประกอบตัวรวมกันเป็นเส้นใยกล้ามเนื้อ และเส้นใยกล้ามเนื้อนั้นเมื่อรวมๆกันแล้วถึงจะเป็นกล้ามเนื้อ 1 มัด และมัดกล้ามเนื้อนั้นจะรวมตัวกันเป็นกล้ามเนื้อซึ่งถูกล้อมรอบด้วยเยื่อหุ้ม และในกล้ามเนื้อนั้นจะทำงานกับสมอง โดยมีการส่งกระแสประสาทมายังระบบประสาทส่วนกลาง หรือ CNS (Central Nervous System)
 
และในที่นี้เราจะมุ่งเจาะจงไปที่กล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeletal Muscle) เนื่องจากเป็นกล้ามเนื้อเพียงชนิดเดียวที่อยู่ภายอำนาจจิตใจ หรือเราสามารถควบคุมและสั่งการได้นั่นเอง กล้ามเนื้อโครงร่างนั้นยึดติดกับกระดูก โดยการควบคุมกล้ามเนื้อนั้นมาจาก 2 ทาง คือจากสมองสู่กล้ามเนื้อ ทั้งที่ถูกสั่งด้วยอำนาจจิตใจและการตอบสนองนอกเหนืออำนาจจิตใจ เรียกว่าเส้นประสาทนำออก และจากอวัยวะสัมผัส ผ่านกล้ามเนื้อสู่สมอง เรียกว่าเส้นประสาทนำเข้า
 

media-888
(เครดิตภาพ : biology101.org)

2. ประเภทของกล้ามเนื้อโครงร่าง

กล้ามเนื้อโครงร่างนั้นเรียกได้อีกอย่างว่ากล้ามเนื้อลาย เพราะในกล้ามเนื้อนั้นมีเส้นใยจัดเรียงอยู่ในกล้ามเนื้ออย่างเป็นระเบียบ สามารถสามารถยืดคลายตัวและหดตัวได้มากกว่ากล้ามเนื้อประเภทอื่น เพื่อรองรับกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน และจากเส้นใยของกล้ามนี้เองที่เรานำมาแบ่งเป็นประเภท ได้แก่
 
Type I - Slow twitch muscle fiber กล้ามเนื้อกระตุกช้า รู้จักกันในชื่อกล้ามเนื้อแดง เนื่องจากมีไมโตรคอนเดีย ไมโอโกลบิน (Myoglobin) และเป็นกล้ามเนื้อที่มีเส้นเลือดฝอยจำนวนมาก จึงทำให้กล้ามเนื้อนั้นเป็นสีแดง ทำให้การขนส่งออกซิเจนได้มาก และมีเมทาบอลิซึมแบบการใช้ออกซิเจน
 
Type II – Fast twitch muscle Fiber แบ่งออกได้อีก 3 ประเภท
 
Type IIa – คล้ายกับ Slow twitch หายใจด้วยออกซิเจน มีไมโตรคอนเดียและเส้นเลือดฝอยจำนวนมาก จึงทำให้มีสีแดง
 
Type IIx (IId หรือ IIB) – เป็นกล้ามเนื้อที่หดตัวได้เร็วที่สุด แต่หดตัวได้ไม่นาน มีกระบวนการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจนอย่างรวดเร็ว (Anaerobic burst) ทำให้เกิดของเสียจากกระบวนการนี้คือกรดแลคติค
 
Type IIb – เป็นกล้ามเนื้อหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน ใช้พลังงานจากกระบวนการไกลโคไลซิส Glycolysis และมีไมโตรคอนเดียและไมโอโกลบินที่เบาบาง กล้ามเนื้อส่วนใหญ่เลยซีดจาง จึงเรียกอีกอย่างว่า “กล้ามเนื้อขาว”
 

media-889
(เครดิตภาพ : socratic.org)

3. ทฤษฎีการเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อ

กีฬาเพาะกาย หากมองผิวเผินคือการยกเหล็กหรือใช้กล้ามเนื้อออกแรงต้านเพื่อเพิ่มขนาด ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าการออกแรงต้านนั้นทำให้กล้ามเนื้อขยายตัว แต่แท้จริงแล้ว การเพาะกายนั้นคือการทำกิจกรรมที่เป็นสิ่งเร้าเพื่อให้ร่างกายเข้าไปอยู่ในภาวะที่ “จำเป็นต้องปรับตัว” และมุ่งสู่การเกิดของกระบวนการ 2 อย่าง ได้แก่
 
การเติบโตเกินปกติของเซลล์กล้ามเนื้อ (Hypertrophy)
 
การเจริญเกินปกติของเซลล์กล้ามเนื้อ (Hyperplasia)
 
โดยที่กระบวนการเติบโตเกินปกตินั้นเป็นการปรับตัวโดยที่เพิ่มขนาดของเซลล์กล้ามเนื้อให้มี “ขนาดใหญ่ขึ้น” และการเจริญเกินปกตินั้นคือการเพิ่มจำนวนของเซลล์กล้ามเนื้อ “ให้มีจำนวนเยอะขึ้น” และโดยรวมแล้วการทำให้ร่างกายปรับตัวด้วยทั้ง 2 กระบวนการนั้น ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อทั้งจะมี “จำนวนที่เยอะขึ้นและขนาดใหญ่ขึ้น” อันเป็นที่มาของกล้ามเนื้อที่ใหญ่โต ซึ่งในทั้ง 2 หัวข้อนี้เราจะเจาะลึกในบทความถัดไป
 

media-890

(เครดิตภาพ : wikipedia.org)

นนท์ จักรกฤฒณ์ บำรุงรส

Ashacha- Amatuer Bodybuilder & Strength Coach
   - Content Editor Universal & Animal Academy Thailand 2013-2016
   - Content Editor MVP Biotech 2016- ปัจจุบัน
   - Hypertrophy Coach Specific
   - Strength training specific

 

Follow me